วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เรื่อง อบรมโครงการพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑




ผอ.สุริยา ทับน้อย และคุณครูสิริณัฐ เลี้ยงอำนวย

อบรมโครงการพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑

                    ที่สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

                    รุ่นที่ ๒ ระหว่างวันที่ ๒๕ – ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๗
      ณ ห้องฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ อาคารศูนย์คอมพิวเตอร์ชั้น ๒ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ตำบลจอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี โดยมีวัตถุประสงค์ให้ครูอาจารย์ในสถานศึกษาสามารถสร้างเนื้อหาบทเรียนที่น่า สนใจสำหรับผู้เรียน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การจัดเตรียมโครงการนำร่องเพื่อกระจายอำนาจไปสู่ สพท. ใน 4 ภูมิภาค

 


ศึกษาธิการ - พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยผลการประชุมผู้บริหารองค์กรหลัก เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2557 ที่ห้องประชุมจันทรเกษม ว่า ที่ประชุมได้หารือเรื่องการจัดเตรียมโครงการนำร่องเพื่อกระจายอำนาจไปสู่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) และการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคนอย่างยั่งยืน กระทรวงศึกษาธิการ


รมว.ศธ. กล่าวว่า ที่ผ่านมาโรงเรียนยังไม่สามารถดำเนินการโครงการต่างๆ ได้เองอย่างคล่องตัว เพราะอำนาจอยู่ที่ส่วนกลาง จึงได้มีแนวคิดที่จะปฏิรูปภาคปฏิบัติในลักษณะโครงการนำร่องเพื่อกระจายอำนาจไปสู่สถานศึกษาโดยตรง โดยจะเริ่มทดลองใน 20 เขตพื้นที่การศึกษาใน 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป ซึ่งแต่ละเขตพื้นที่การศึกษาจะไปเลือกอีก 15 โรงเรียนในเขตพื้นที่ตัวเองที่มีผลการเรียนไม่ดีนักมาเข้าร่วมโครงการ
โดยจะมีการติดตามประเมินผลทุกๆ 3 เดือน และ 6 เดือน เพื่อดูความเปลี่ยนแปลง หากมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือ มีความคล่องตัว การเรียนการสอนในโรงเรียนมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ก็จะขยายจำนวนเขตพื้นที่และโรงเรียนให้กว้างออกไปอีก ซึ่งที่ผ่านมา ศธ.ได้เตรียมการเรื่องนี้มาระยะหนึ่งแล้ว เช่น การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการผู้บริหารจาก 20 เขตพื้นที่การศึกษา การออกคำสั่งต่างๆ เพื่อรองรับรูปแบบการกระจายอำนาจ เป็นต้น
ทั้งนี้ กรอบกระจายอำนาจ 4 ด้าน คือ
การบริหารจัดการ ต้องการให้ ผอ.สพท. มีสิทธิ์และมีอิสระในการตัดสินใจดูแลสถานศึกษาและโครงการต่างๆ ได้เอง เพื่อให้การบริหารจัดการเขตพื้นที่โดยรวมมีความคล่องตัว รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
งบประมาณ แต่เดิมงบประมาณอยู่ที่ส่วนกลาง ศธ.จึงต้องการมอบอำนาจให้เขตพื้นที่การศึกษาสามารถดูแลและบริหารจัดการงบประมาณได้เองโดยที่ไม่ต้องขอมาที่ส่วนกลางอีก ส่วนจะเป็นจำนวนเท่าใดนั้น ขึ้นอยู่กับแต่ละเขตพื้นที่ เพราะเป็นงบประมาณที่แต่ละเขตพื้นที่ได้ตั้งไว้เพื่อจัดทำโครงการต่างๆ อยู่แล้ว
หลักสูตร ศธ.อาจจะมีหลักสูตรแกนกลางสำหรับจัดการเรียนการสอนในทุกพื้นที่ และจะเปิดโอกาสให้แต่ละเขตพื้นที่การศึกษาคิดหลักสูตรเฉพาะของพื้นที่ตัวเอง ซึ่งจะมีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ เช่น หลักสูตรพื้นที่ของโรงเรียนในภูเก็ตกับโรงเรียนในขอนแก่นก็จะไม่เหมือนกัน เป็นโอกาสที่เขตพื้นที่การศึกษาจะได้คิดเองทำเอง และสถานศึกษาก็จะได้พัฒนาตามลักษณะพื้นที่ โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็กที่จะสามารถพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนของตัวเองได้มากขึ้น
บุคลากร ในกรณีที่มีอัตรากำลังอยู่แล้ว แต่ไม่มีครูบรรจุ เขตพื้นที่การศึกษาสามารถจัดหาครูหรือจ้างครูมาสอนเองได้ แต่หากไม่มีอัตรากำลัง ยังคงเป็นอำนาจของส่วนกลางที่จะพิจารณาจัดสรรอัตรากำลังครูลงไป อย่างไรก็ตาม อำนาจการโยกย้ายเป็นของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งมี ผอ.สพท.ทำหน้าที่เลขานุการอยู่แล้ว อาจมีการนำเรื่องนี้ไปหารือในที่ประชุม อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา หากตกลงกันได้ก็จะเป็นเรื่องที่ดี เพราะเชื่อว่าหากทำได้จะส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนการสอนของทั้งนักเรียนและครู
  • การปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคนอย่างยั่งยืน ศธ.
รมว.ศธ.กล่าวว่า ที่ประชุมรับทราบร่างการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคนอย่างยั่งยืน กระทรวงศึกษาธิการ พร้อมทั้งได้อภิปรายถึงการปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมาว่า มีการปฏิรูปมาแล้วหลายครั้ง แต่เป็นการปฏิรูปจากข้างบนลงไปข้างล่าง จึงมีแนวคิดใหม่ที่ต้องการให้มีการปฏิรูปจากข้างล่างขึ้นมาข้างบน ซึ่งที่ประชุมมีความเห็นตรงกันว่า ควรปฏิรูปภาคปฏิบัติโดยเน้นไปที่ตัวนักเรียน เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและสามารถวัดผลได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากการวัดผลจะวัดจากผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน ไม่ได้วัดว่าครูเก่งขึ้นเพียงใด ดังนั้น การปฏิรูปครั้งนี้จะเน้นไปที่นักเรียน ขึ้นมาที่ครู สถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา จนมาถึงกระทรวง อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน ศธ.ปฏิรูปในระดับพื้นที่อยู่แล้ว เช่น การกระจายอำนาจ การจัด Coaching team จัด Reform Lab เพื่อให้ความรู้และพัฒนาครูผู้สอนในเชิงพื้นที่ทั้งระดับจังหวัดและระดับเขตพื้นที่การศึกษา
ในส่วนของด้านบนคือ ระดับกระทรวง จะปฏิรูปทั้งในส่วนของโครงสร้าง หลักสูตร บุคลากร ตลอดจนการบริหารจัดการ ควบคู่ไปกับการปฏิรูปส่วนล่าง ซึ่งหลายเรื่อง ศธ.ได้ดำเนินการไปแล้ว โดยเฉพาะในส่วนของอาชีวศึกษา สำหรับการปรับโครงสร้างหรือแยกองค์กร เช่น สกอ. หากทุกฝ่ายเห็นด้วยกับแนวคิดนี้ ศธ.ก็จะดำเนินการควบคู่ไปพร้อมกับเรื่องอื่นๆ แต่ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนที่จะต้องทำทันที เพราะการปรับโครงสร้างถือเป็นเรื่องใหญ่ และมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของกฎหมาย บุคลากร สถานที่ อาจไม่สามารถดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ปีได้
นวรัตน์ รามสูต
บัลลังก์ โรหิตเสถียร
สรุป/รายงาน

Published 20
/11/2014

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครูและบุคลากรอื่นโรงเรียนวัดสัมมาราม




ครูและบุคลากรอื่น



นาย สุริยา ทับน้อย           ผู้อำนวยการโรงเรียน



นาย จำนงค์ เปลี่ยนขำครู



นาง นวลจันทร์ สุธาพจน์ครู



นาง วันดี คชานันท์ครู



นาง สุกัญญา ชินเวชครู



นาง อารีย์รักษ์ สวนสมบูรณ์ครู



นางสาว สิริณัฐ เลี้ยงอำนวยครู



นางสาว คติยา ศรนารายณ์ครู



นางสาว ขวัญจิรา มะลิอ่อนครู


๑๐
นางสาว ภานุมาศ นิลรอดครู


๑๑
นางสาว บุษบา ไข่นิลครู


๑๒
นาง กาญจนา ปราดเปรียวครู 


๑๓
นางสาว วรรณี สุขแป้นครู


๑๔
นาง ธรรมวดี ชูเมืองครู


๑๕
นางสาว นรัชญ์ โชคสินอนันต์ครูผู้ช่วย


๑๖
นาย วชิระศักดิ์ อินเหี้ยนเจ้าหน้าที่ธุรการ


๑๗
นาย กิ่ง แก้วเพ็ชรช่างครุภัณฑ์ ๔


๑๘
นาง วิภา ศิริรัตน์คนครัว




*******************************

รอต้อนรับคุณครูคนใหม่


คุณครูวรรณี สุขแป้น
วุฒิการศึกษา ค.บ. วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ย้ายจากโรงเรียนบ้านห้วยกบ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
เริ่มปฏิบัติหน้าที่โรงเรียนนี้  ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๗
ชาวสัมมารามขอต้อนรับด้วยความยินดียิ่ง



คุณครูธรรมวดี ชูเมือง
วุฒิการศึกษา ค.บ. วิชาเอกภาษาอังกฤษ
ย้ายจากโรงเรียนบ้านโป่งหวาย อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี
เริ่มปฏิบัติหน้าที่โรงเรียนนี้
ชาวสัมมารามขอต้อนรับด้วยความยินดียิ่ง



ผลการแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียนครั้งที่ ๖๔ ระดับเขตฯ

 
สรุปผลการแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียนครั้งที่ ๖๔ ระดับเขตพื้นที่
 
 
 
สัมมารามคลิกที่นี่